นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด
การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว
ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ทอมัส ฮิวช์(Thomas Hughesได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ
มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม”
ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนา ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป
แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ
คิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่า
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “หมายถึง
ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่
มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ นวัตกรรม มักจะหมายถึง
สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่
1 มีการประดิษฐ์คิดค้น ระยะที่ 2 พัฒนาการ ระยะที่
3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป
“นวัตกรรมทางการศึกษา”
(Educational Innovation) หมายถึง
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ
รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา
เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา
ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา
ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ
มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม
ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ
ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่
ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา
การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก
การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน
เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น
แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์
แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1.ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ
2.รูปแบบเรียนเป็นเล่ม
หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง
จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3.เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ
เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ
ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4.การเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา
ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
1.
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง
ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
เช่น
2.
ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
เช่น
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
ในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง
การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
ประสิทธิภาพในการเรียน การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน E-learning
เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง
และ การตอบสนองใน
ความแตกต่างระหว่างบุคคลการเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ
อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
ห้องเรียนเสมือนจริง ความหมาย การเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง
เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ
ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม
และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก รูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า
Virtual Classroom ไว้ดังนี้
ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง
การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน
เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย
บุญเกื้อ ควรหาเวช ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual
Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่
ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง
เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย
รุจโรจน์ แก้วอุไร กล่าวไว้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual
Classroom) เป็นการจัดการเรียนการ สอนทางไกลเต็มรูปแบบ
โดยมีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น เข้าสู่
กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ
โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual
Classroom) หมายถึง
การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง
ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ
โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่
ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง
1. จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา
แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบท เรียน
โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน
2. การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual
Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตังหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว
และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน
การทำงาน
มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน Asynchronous Learning คือ
รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง
ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา
โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ
ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่
ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้
การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แหล่งสะสมความรู้หรือที่บางคนเรียกว่า
"ขุมทรัพย์ความรู้"เพราะในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ต่อ
เชื่อมอยู่กับอินเทอร์เน็ตนั้น ต่างก็มีข้อมูลสะสมไว้มากมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น